วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555


Transformative  Learning  กับการพัฒนาผู้ใหญ่ระดับบริหาร
สนธิรัก  เทพเรณู
                การเรียนรุ้และสร้างสรรค์วิทยาการต่าง    ขึ้นใหม่       เชื่อกันว่าเกิดจากการถ่ายทอดและเชื่อมโยงความรู้ส่วนบุคคล   โดยการผ่านประสบการณ์ที่เป็นปัญหาด้วยตนเอง  มีการตรวจสอบความสัมพันธ์ที่ตนเองเกี่ยวข้อง     ประเมินผลอย่างพินิจพิเคราะห์ถึงบทบาทของตนกับความรุ้สึกที่เกิดจากความคาดหวังของสังคมในการแก้ไขปัญหา      การเชื่อมโยงประเด็นที่รับรู้รับทราบไปสู่ประเด็นสาธารณะ  ที่จำเป็นต้องร่วมกันแสวงหาทางเลือกในวิธีการปฏิบัติใหม่  ๆ      การสร้างความสามารถหรือความมั่นใจในการปฏิบัติ  จากการวางแผนรับความรู้และทักษะไปสู่การปฏิบัติ        ทดลองปรับปรุงบทบาทของตนเองและดำเนินการประเมินผล  พร้อมทั้งบูรณาการความรู้เผยแพร่ไปสู่สังคมบนพื้นฐานในเงื่อนไขต่าง    ที่ถูกกำหนดขึ้นตามมุมมองใหม่
              ในหนังสือ  Understanding  and  Promoting  Trans  Formative  Learning  :  A  Guide  for  Educators of  Adults  (1994)  เขียนโดย  Patricia  Cranton  กล่าวถึงความหมายพื้นฐานกว้าง    ของ  Transformative Learning  ว่า  เป็นสิ่งที่มักมีอยู่ในตนเองมากกว่าจะมาจากภายนอก  โดยการอ่างหนังสือ           การตีความประสบการณืจากการติดต่อสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ในวิถีทางของตนเอง  เป็นลักษณะของกระบวนการในการตรวจสอบ      การตั้งคำถาม  การให้เหตุผลและการทบทวนการับรู้ต่าง    เพื่อเรียกร้องหาความจริงที่สมบูรณ์แบบ       และความหมายที่เป็นสากลซึ่งเป็นอิสระจากความรู้และจุดมุ่งหมายของการศึกษา  ที่จำเป็นต้องค้นหาคำตอบที่ถูกต้อง       มากกว่าที่จะสะท้อนมุมมองของคนภายใต้สภาพแวดล้อมทั่วไป  การพัฒนาตามแนวทางนี้    จะเป็นไปเพื่อเพิ่มหรือหรือยกระดับความสามารถในการให้เหตุผลต่อการเรียนรู้ที่ผ่านมา  สะท้อนกลับไปสู่ความสามารถในการปฏิบัติ   ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่รับรู้มาด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้ง     ความคิดของแต่ละบุคคลจะเคลื่อนไปสู่มุมมองในการตีความหมาย     จากการวิเคราะห์อย่างเปิดเผยและผสมผสานให้เกิดความคิดที่ครอบคลุมกว้างขวาง  สำหรับมุมมองที่นำมาพิจารณาจะปรากฎขึ้นจากขอบเขต 3  ลักษณะ  คือ     (1)  มุมมองที่สัมพันธ์กับความรู้และวิธีการใช้ความรู้    กล่าวคิดบุคคลมีการเรียนรู้มาอย่างไรสิ่งนั้นจะถูกตำมาสัมพันธ์กับมุมมองในการพิจารราตีความ   เพื่อนำไปใช้เสมอ     (2)  มุมมองบนบรรทัดฐานทางสังคมของบุคคลและความคิดหวังของสังคม  ดยเชื่อว่า      การกล่อมเกลาทางสังคมภายใต้เบื้องหลังทางวัฒนธรรม  ภาษา  ความเชื่อตามหลักศาสนา  การเลี้ยงดูและการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น    ก่อให้เกิดความโน้มเอียงในการพิจารณากำหนดความหมาย และ  (3)  มุมมองที่พิจารณาเกี่ยวกับตนเอง  โดยมองตนเองในฐานะเป็นปัจเจกบุคคล  บนพื้นฐานความคิดที่เกี่ยวข้องเฉพาะของตนเอง  ความต้องการและบุคลิกภาพ
            สำหรับการนำสาระสำคัญในเรื่อง  Transformative  Learning  มาพิจารณา  เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้สามารถพิจารณากรอบทิศทางที่เกี่ยวข้องได้  2  รูปแบบ  คือ  รูปแบบทางจิตวิทยา  เป็นการอธิบายความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีทัศนคติแบบสนใจกับสิ่งภายนอก     พร้อมที่จะปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกในขณะที่บุคคลบางส่วนมีทัศนคติสนใจสิ่งที่อยู่ภายในตนเอง  แม้จะมีแรงกระตุ้นจากภายนอก    ก็ไม่สามารถก่อให้เกิดความสนใจได้ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงการตัดสินใจ  2  ประเภท  คือ  ประเภทแรกการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล  จากการใช้ความคิดและการใช้ความรู้สึกหรือค่านิยม  ส่วนประเภทที่สอง  ไม่ใช้เหตุผลเป็นพื้นฐาน  แต่ใช้มุมมองจากสติและมุมมองผ่านสัญชาติญาณ       บุคคลแต่ละบุคคลจะมีทัศนคติและความพึงพอใจที่แตกต่างกัน    ในขณะที่ต้องพิจารณาภารกิจหน้าที่หลักและหน้าที่รองตามความรับผิดชอบ  เพื่อกำหนดวิถีทางการปฏิบัติหรือการตัดสินใจที่ต่างกัน  กระบวนการในลักษณะ  Transformative  Learning ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันโดยรูปแบบทางจิตวิทยาจะมุ่งพิจารณาลักษณะของบุคคลที่ควรมีปรากฎในเรื่อง  ความตระหนักในค่านิยมและสมมติฐาน  สภาพการณ์รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน     การตั้งคำถามเพื่อแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับค่านิยมและสมมติฐาน  ความสามารถในการจำแนกกระบวนการและเนื้อหาสาระ   การพิจารณารายละเอียดที่เป็นหลักฐานสำหรับการเสนอข้อคิดเห็นในการสนทนาอย่างมีเหตุผล  โดยมีการทบทวนถึงค่านิยมหรือสมมติฐานที่มีการเปลี่ยนแปลง    รวมทั้งการทบทวนมุมมองที่นำไปสู่ความหมายหรือประเด็นในการตัดสินใจขณะที่การพิจารณากรอบทิศทางในรูปแบบการเรียนรู้  จะพิจารณาจากแนวคิด  3  แบบคือ  (1)    การเรียนรู้จากเอกสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจ หรือเป็นความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับผลจากการแก้ปัญหา  (2)  การเรียนรู้จากการติดต่อสื่อสารและเกิดเป้นความเข้าใจจากการบอกกล่าวหรือข้อคิดเห็นของผู้อื่น  และ  (3)  การเรียนรู้ด้วยความเป็นอิสระจากการครอบงำทางความคิด  ผ่านการสะท้อนกลับเชิงวิพากษ์โดยการเรียนรู้และการสะท้อนกลับจะเป็นกระบวนการที่มีหลายมิติ  บุคคลหนึ่ง      สามารถจะใช้การสะท้อนกลับด้านเนื้อหาอธิบายว่าปัญหาคืออะไร  ใช้การสะท้อนกลับด้านกระบวนการเพื่อตรวจสอบกลยุทธ์ทีทใช้ในการเข้าถึงปัญหา  หรือใช้การสะท้อนกลับด้านข้อความจริง  เพื่อตั้งคำถามสำหรับตนเอง  การสะท้อนกลับแต่ละชนิดสามารถเกิดขึ้นได้ภายในขอบเขตการเรียนรู้แต่ละอย่างและมีมุมมองในการตีความหมายต่างกัน  แต่ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Transformative  Learning  จะสามารถเชื่อมโยงไปถึงมุมมองอื่น    ในทฤษฎีการศึกษาและการพัฒนาผู้ใหญ่    รวมทั้งการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง  ความคิดโดยสำนึกและการคิดเชิงวิพากษ์
             ในการพัฒนาฝึกอบรามหรือจัดการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ในทุกลักษณะและทุกประเภท  ตามแนวคิดในทฤษฎี Andragogy  ของ  Malcolm  S.  Knowles  (1980)  ที่กล่าวถึงมโนทัศน์การรับรู้หรือการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ว่า  ไม่ต้องการพึ่งพาบุคคลอื่นในทุกด้านเนื่องจากประสบการณ์ของผู้ใหญ่ที่สะสมไว้มีมากมาย  จนถือเป็นแหล่งการเรียนรู้ของตนเองได้ มีความพร้อมที่ต้องการจะเรียนรู้ตามบทบาทหน้าที่ของตนในสังคม      และต้องการประยุกต์แนวทางการเรียนรู้จากการยึดเนื้อหาเป็นศูนย์กลางไปสู่การลงมือปฏิบัติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ทันทีในปัจจุบัน ไม่ต้องรอเวลา ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดของ  Kidd  (1973)  ที่กล่าวว่าการเรียนรู้ของผู้ใหญ่จะต้องเกี่ยวข้องกับการทำงาน    ความเป็นอยู่บทบาทและภารกิจของบุคคลนั้น  โดยลักษณะของกิจกรรมที่เหมาะสมและทำให้ผู้ใหญ่เรียนรู้ได้ดีขึ้น          จะต้องเป็นกิจกรรมทีสนองความต้องการของผู้ใหญ่โดยตรง  มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน  ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมใช้เหตุผลในการตัดสินและไม่จำเป็นต้องใช้พลกำลังทางร่างกายแต่เป็นการใช้พลังทางสติปัญญา
           ดังนั้น  หากนำหลักการของ  Transformative  Learning     มาเป็นข้อคิดสำหรับการพัฒนาผู้ใหญ่ระดับต่าง   โดยเฉพาะในระดับบริหาร      จำเป็นต้องเน้นถึงสภาพการจัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพจากการกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่เสริมสร้างให้ผู้รับการพัฒนาเกิดความคิดที่เป็นอิสระเป็นเหตุเป็นผล         ในลักษณะการเรียนรู้แบบนำตนเอง  สามารถคิดวิพากษ์ประเด็นต่าง    ที่เกี่ยวข้องได้อย่างรองคอบ      รวมทั้งนำเสนอข้อมูลและพร้อมที่จะรับข้อวิจารณ์ด้วยใจเป็นธรรม  เนื้อหาสาระจะต้องอยู่บนพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสภาพการดำรงชีวิตหรือการปฏิบัติหน้าที่การงานเป็นเรื่องใหม่    ที่ทันสมัยสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน   สภาพพื้นที่หรือสภาพของการปฏิบัติที่สามารถบูรณาการไปสู่การประยุกต์ใช้ในสภาพจริง  การนำเสนอเนื้อหาสาระต้องมีลำดับขั้นตอนและรูปแบบที่คำนึงถึงความแตกต่างของบุคคลกลุ่มเป้าหมาย  ในด้านสติปัญญา  สังคม  สภาพแวดล้อมและประสบการณ์ในอดีต         มีลักษะของสื่อการเรียนรู้ที่สามารถช่วยกระตุ้นด้วยภาษาเขียน  รูปภาพ  ข้อคำถามหรือปัญหา    ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างการแสวงหาคำตอบที่นำไปสู่การแก้ไขปัยหาที่เกิดจากกลุ่มเป้าหมายเอง  สอดแทรกทั้งความสนุกสนาน   ความบันเทิงที่เป็นสาระให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในมุมมองหลาย    มิติ  อันจะนำไปสู่พัฒนาการแห่งความก้าวหน้าทางความคิดและเสริมสร้างพลังทางสติปัญหาที่มีคุณค่า  สำหรับนำไปใช้ปฏิบัติหน้าที่การงานในฐานะผู้นำองค์กรหน่วยงานตามความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องสืบไป...

เอกสารอ้างอิง
            Cranton,  Patricia.  Understanding  and  Promoting  Transformative  Learning  :  A  Guide  for Educators  of  Adults.  San  Francisco  :  Jossey-Bass  Publishers,  1994.
            Kidd,  J.R.  How  Adults  Learn.  New  York  :  Association,  1973.
            Knowles,  Malcolm  S.  The  Modern  Practice  of  Adult  Education  :  From  Pedagogy  to Andragogy.  Chicago  :  Association  Press,  Folett  Publishing,  1980.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น